วันอังคารที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2560

ขนมถั่วกวน

ในสมัยโบราณคนไทยจะทำขนมเฉพาะวาระสำคัญเท่านั้น เป็นต้นว่างานทำบุญ งานแต่ง เทศกาลสำคัญ หรือต้อนรับแขกสำคัญ เพราะขนมบางชนิดจำเป็นต้องใช้กำลังคนอาศัยเวลาในการทำพอสมควร ส่วนใหญ่เป็น ขนบประเพณี เป็นต้นว่า ขนมงาน เนื่องในงานแต่งงาน ขนมพื้นบ้าน เช่น ขนมครก ขนมถ้วย ฯลฯ ส่วนขนมในรั้วในวังจะมีหน้าตาจุ๋มจิ๋ม ประณีตวิจิตรบรรจงในการจัดวางรูปทรงขนมสวยงาม
ขนมไทยดั้งเดิม มีส่วนผสมคือ แป้ง น้ำตาล กะทิ เท่านั้น ส่วนขนมที่ใช้ไข่เป็นส่วนประกอบ เช่น ทองหยิบ ทองหยอด เม็ดขนุน นั้น มารี กีมาร์ เดอ ปีนา (ท้าวทองกีบม้า) หญิงสาวชาวโปรตุเกส เป็นผู้คิดค้นขึ้นมา
ขนมไทยที่นิยมทำกันทุกๆ ภาคของประเทศไทย ในพิธีการต่างๆ ก็คือขนมจากไข่ และเชื่อกันว่าชื่อและลักษณะของขนมนั้นๆ เช่น รับประทานฝอยทอง เพื่อหวังให้อยู่ด้วยกันยืดยาว มีอายุยืน รับประทาน ขนมชั้นก็ให้ได้เลื่อนขั้นเงินเดือน รับประทาน ขนมถ้วยฟูก็ขอให้เจริญ รับประทานขนมทองเอก ก็ขอให้ได้เป็นเอก เป็นต้น
ในสมัยรัชกาลที่ 1 มีการพิมพ์ตำราอาหารออกเผยแพร่ รวมถึงตำราขนมไทยด้วย จึงนับได้ว่าวัฒนธรรมขนมไทยมีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรก ตำราอาหารไทยเล่มแรกคือแม่ครัวหัวป่าก์
ในสมัยต่อมาเมื่อการค้าเจริญขึ้นในตลาดมีขนมนานาชนิดมาขาย และนับว่าเป็นยุคที่ขนมไทยเป็นที่นิยม

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ที่มาของขนมถั่วกวน

ข้าวเม่า

ข้าวเม่า
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ที่มา ข้าวเม่า

ข้าวเม่ามีทั้งข้าวเม่าข้าวเหนียว ข้าวเจ้าและข้าวเหนียวดำ โดยที่นิยมมากที่สุดคือข้าวเม่าข้าวเหนียว แบ่งได้เป็น 3 แบบ คือ ข้าวฮ่างหรือข้าวเม่าอ่อนทำจากเมล็ดข้าวสีเขียวจัด ข้าวเม่าแบบเขียวอ่อน ทำจากข้าวห่ามที่เปลือกเป็นสีเขียวเข้ม ข้าวเม่าขาวนวล ทำจากข้าวเกือบแก่ เปลือกเขียวอมน้ำตาล
พิกัด  หากินได้ตามท้องตลาด
ได้เวลาหาขนมอร่อยกินกันแล้ว เอามาฝากหลายร้าน หลายประเภท ใครชอบแบบไหนไปลองหามาชิมกันดู แล้วจะรู้ว่า ขนมไทยก็ไม่แพ้ขนมชาติใดในโลกค่ะ 


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ที่มา ข้าวเม่า

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ที่มา ข้าวเม่า

ขนมผิง


ขนมผิง
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ที่มาขนมผิง
ขนมผิงมีต้นกำเนิดมาจากประเทศโปรตุเกส โดยหญิงสาวที่มีชื่อว่า มารี กีมาร์ หรือท้าวทองกีบม้า ลูกครึ่ง โปรตุเกส-ญี่ปุ่น และเบงกอลที่เกิดในอาณาจักรอยุธยา หลังจากที่ทหารญี่ปุ่นชุดแรกได้เข้ามาเป็นทหารอาสาในแผ่นดินของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ไม่นานนักนางมารี กีมาร์ ก็ได้เข้ารับราชการในตำแหน่งหัวหน้าห้องเครื่องต้น และได้สอนการทำขนมหวาน อาทิ ทองหยอด ฝอยทอง และขนมผิง ให้กับผู้ที่ทำงานอยู่ใกล้ชิดกับเธอและสาวๆเหล่านั้นก็ได้นำสูตรขนมออกมาถ่ายทอดต่อไป

ขนมผิงโบราณ
ขนมผิงในสมัยก่อนจะมีรสหวาน กลิ่นหอมที่ยั่วยวนใจ สีน้ำตาล และเมื่อรับประทานจะละลายในปากทันที ซึ่งต่างกับในสมัยปัจจุบันที่ทำสีสันเพิ่มเติม อาทิ สีชมพู สีเขียว และสีเหลือง นอกจากนั้นเนื้อแป้งยังแข็งขึ้นกว่าแต่ก่อน ทั้งนี้ก็เพราะว่าป้องกันไม่ให้ขนมผิงที่บรรจุห่อขายนั้นแตกหักได้ง่าย แต่เดิมนั้นขนมผิงจะถูกบรรจุอยู่ในโหลแก้วเล็ก ๆ และประดับด้วยโบว์ เพื่อใช้เป็นของขวัญใน วันปีใหม่ หรือ วันแห่งความรัก
พิกัด  หากินได้ตามท้องตลาด
ได้เวลาหาขนมอร่อยกินกันแล้ว เอามาฝากหลายร้าน หลายประเภท ใครชอบแบบไหนไปลองหามาชิมกันดู แล้วจะรู้ว่า ขนมไทยก็ไม่แพ้ขนมชาติใดในโลกค่ะ 

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ที่มาขนมผิง

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ที่มาขนมผิง

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ที่มาขนมผิง

ขนมไข่

ขนมไข่
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ที่มาขนมไข่

นิยมกันทั่วทุกภาคของประเทศไทยเช่นภาคกลางภาคตะวันออกเฉียงเหนือภาคเหนือและส่วนใหญ่มักจะทำเป็นของฝาก ซึ่งเรียกกันว่าขนมไข่อบโบราณหรือขนมไข่โบราณสูตรต้นตำหรับ ภาคใต้นั้นก็เรียกว่าขนมไข่เช่นกันแต่คนส่วนใหญ่ภาคใต้นั้นนับถือศาสนาอิสลามร้อยละ ๘๐ และมีพื้นที่ติดชายแดนมาเลเซียซึ่งมีคนพูดภาษามลายูจึงทำให้บางพื้นที่เรียกขนมไข่ว่า ขนมบูหลู ซึ่งมีรากศัพท์มาจากภาษามลายู ภาคใต้มักใช้ขนมไข่ในวันสำคัญต่างๆของทั้งศาสนาพุทธในเทศกาลงานสารทเดือน ๑๐ งานขึ้นบ้านใหม่ และศาสนาอิสลามในวันฮารีรายอส่วนใหญ่เป็นต้น

พิกัด  หากินได้ตามท้องตลาด
ได้เวลาหาขนมอร่อยกินกันแล้ว เอามาฝากหลายร้าน หลายประเภท ใครชอบแบบไหนไปลองหามาชิมกันดู แล้วจะรู้ว่า ขนมไทยก็ไม่แพ้ขนมชาติใดในโลกค่ะ 

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ที่มาขนมไข่

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ที่มาขนมไข่

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

ขนมถ้วย

ขนมถ้วย
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ที่มาขนมถ้วย

ขนมถ้วยตะไล คนสมัยนี้ส่วนใหญ่จะเรียกว่า “ขนมถ้วย”เฉย ๆ ขนมถ้วยตะไล นี้เป็นขนมไทยโบราณอีกชนิดหนึ่งที่หารับประทานได้ไม่ยากนัก เพราะมีวิธีการทำที่ไม่ยุ่งยาก วัตถุดิบก็หาได้ง่าย คือ แป้งข้าวจ้าว น้ำตาลมะพร้าว หรือน้ำตาลโตนด กะทิ เกลือโดยมีวิธีการขั้นตอน ๒ ข้อนตอน คือขั้นตอนแรกการทำตัวขนม โดยใช้แป้งข้าวจ้าว ผสมน้ำตาลมะพร้าวหรือน้ำตาลโตนด ใส่ถ้วยตะไล ประมาณครึ่งถ้วยนำไปนึ่งให้สุก ยกลงพักไว้ขั้นตอนที่สองขั้นตอนการทำหน้าขนมถ้วย ใช้แป้งข้าวจ้าวผสมกะทิ และเกลือ ชิมรสมันเค็มนำไปหยอดหน้าขนมถ้วยที่นึ่งส่วนตัวไว้แล้ว นำไปนึ่งให้สุก
ขนมถ้วยตะไล ที่อร่อย นั้น ตัวขนมจะมีรสหวานหอมน้ำตาลมะพร้าวหรือน้ำตาลโตนดและไม่แข็งกระด้าง ส่วนหน้าขนมต้องมีรสมันด้วยกะทิและมีรสเค็มนิดหน่วย และที่อำเภอท่ามะกา นางยิ่วฟ้า วงษ์ศิลป์ เป็นผู้ที่มีฝีมือในการทำขนมถ้วยตะไล ได้อร่อยมากถ้าอยากชิม ประมาณ สิบเอ็ดโมงเช้า นางยิ่วฟ้า จะเข็นรถมาจอดขายอยู่ที่ขางธนาคารกรุงไทย สาขาท่ามะกา อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี


พิกัด  หากินได้ตามท้องตลาด
ได้เวลาหาขนมอร่อยกินกันแล้ว เอามาฝากหลายร้าน หลายประเภท ใครชอบแบบไหนไปลองหามาชิมกันดู แล้วจะรู้ว่า ขนมไทยก็ไม่แพ้ขนมชาติใดในโลกค่ะ 

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ที่มาขนมถ้วย



ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ที่มาขนมถ้วย

ขนมต้ม

ขนมต้ม
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

เป็นขนมที่มีหลักฐานว่ามีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย เข้ามาพร้องกับศาสนาพราหมณ์และลัทธิความเชื่อเกี่ยวกับเทพเจ้า โดยเชื่อกันว่าพระพิฆเนศโปรดขนมนี้มาก ครั้งหนึ่งเสวยเข้าไปจนเต็มพุง เมื่อขี่หนูกลับวิมาน ระหว่างทางหนูมาเจองู ตกใจจึงหยุดทันที พระพิฆเนศตกจากหลังหนู พุงแตก พระพิฆเนศเสียดายขนมจึงกอบเข้าใส่พุงใหม่แล้วเอาซากงูที่ตีตายแล้วมาพันพุงไว้ แล้วจึงกลับไปวิมาน  ต่อมาได้มีบทบาทสำคัญในพิธีบวงสรวงเทวดา ในพิธีกรรมต่างๆ เช่น ยกเสาเอก ตั้งศาลพระภูมิ ในประเพณีสู่ขอแต่โบราณในบางท้องที่ใช้ขนมต้มด้วย ดังมีเพลงพวงมาลัยร้องเล่นว่า
พิกัด  หากินได้ตามท้องตลาด

ได้เวลาหาขนมอร่อยกินกันแล้ว เอามาฝากหลายร้าน หลายประเภท ใครชอบแบบไหนไปลองหามาชิมกันดู แล้วจะรู้ว่า ขนมไทยก็ไม่แพ้ขนมชาติใดในโลกค่ะ 


รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ที่มาขนมต้ม

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ที่มาขนมต้ม


สังขยาฟักทอง


สังขยาฟักทอง
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ที่มาขนมสังขยาฟักทอง
 สังขยา หรือที่เรียกในภาษามาเลย์ว่า ศรีกายา หรือกายา เป็นขนมนึ่งทำจากกะทิและน้ำตาล พบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หลายประเทศ เช่นอินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์กายาหรือศรีกายา (มาจากคำว่าร่ำรวยในภาษามาเลย์) เป็นขนมที่ทำจาก กะทิ ไข่เป็ดหรือไขไก่ ซึ่งขยำให้เข้ากันด้วยใบเตย ปรุงรสหวานด้วยน้ำตาล มีจุดกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพราะใช้เครื่องปรุงที่พบมาในท้องถิ่นคือน้ำตาลมะพร้าวและใบเตย กายายังใช้รับประทานร่วมกับขนมอื่น เช่น pulut tekan ซึ่งเป็นข้าวเหนียวนึ่งที่ย้อมให้เป็นสีม่วง pulut seri muka ข้าวเหนียวนึ่งที่ย้อมให้เป็นสีเขียวด้วยใบเตยฟิลิปปินส์สังขยาในฟิลิปปินส์ทำจากกะทิ และน้ำตาลหรือกากน้ำตาลไทยสังขยาในไทยเป็นขนมที่จัดอยู่ในกลุ่มที่ได้รับอิทธิพลจากโปรตุเกส นิยมรับประทานกับข้าวเหนียว หรือใส่ในฟักทอง เผือกหรือมะพร้าว แล้วนำไปนึ่ง เป็นคนละชนิดกับสังขยาที่กินกับขนมปังกัมพูชาสังขยาในกัมพูชา ลักษณะคล้ายสังขยาในประเทศไทย นิยมปรุงกับฟักทองแบบสังขยาฟักทอง

พิกัด  หากินได้ตามท้องตลาด

ได้เวลาหาขนมอร่อยกินกันแล้ว เอามาฝากหลายร้าน หลายประเภท ใครชอบแบบไหนไปลองหามาชิมกันดู แล้วจะรู้ว่า ขนมไทยก็ไม่แพ้ขนมชาติใดในโลกค่ะ 

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ที่มาขนมสังขยาฟักทอง

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ที่มาขนมสังขยาฟักทอง

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ที่มาขนมสังขยาฟักทอง